วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันศุกร์ ที่ 4 ธันวาคม 2552

สิ่งที่ได้เรียนในวันนี้

ความหมายของภาษา
คำว่า “ ภาษา” เป็นคำภาษาสันสฤต แปลตามรูปศัพท์หมายถึงคำพูดหรือถ้อยคำ ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อความหมายให้สามารถสื่อสารติดต่อทำความเข้าใจกันโดยมีระเบียบของคำและเสียงเป็นเครื่องกำหนด ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายของคำว่าภาษา คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูดถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน
ภาษา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ภาษาที่เป็นถ้อยคำ เรียกว่า “ วัจนภาษา” เป็นภาษาที่ใช้คำพูดโดยใช้เสียงที่เป็นถ้อยคำสร้างความเข้าใจกัน นอกจากนั้นยังมีตัวหนังสือที่ใช้แทนคำพูดตามหลักภาษาอีกด้วย
ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ เรียกว่า “ อวัจนภาษา” เป็นภาษาที่ใช้สิ่งอื่นนอกเหนือจากคำพูดและตัวหนังสือในการสื่อสาร เช่น การพยักหน้า การโค้งคำนับ การสบตา การแสดงออกบนใบหน้าที่แสดงออกถึงความเต็มใจและไม่เต็มใจ
ความสำคัญของภาษา
ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์

ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์
องค์ประกอบของภาษา
ภาษาทุกภาษาย่อมมีองค์ประกอบของภาษา โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
-เสียง
-พยางค์และคำ
-ประโยค
-ความหมาย


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
ทฤษฎีของเพียเจต์








เพียเจต์ กล่าวว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการที่เกิดจากการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางที่เรียกว่า โครงสร้างทางสติปัญญา กระบวนการทำงานของระบบประสาทส่วนนี้เรียกว่า “ปฏิบัติการ”
องค์ประกอบสำคัญของกระบวนการคิด ดังนี้
1.การขยายโครงสร้าง คือการที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือได้รับรู้สิ่งใหม่เข้ามาในสมอง
2.การปรับเข้าสู่โครงสร้าง
คือการที่โครงสร้างทางสติปัญญามีอิทธิพลต่อการแปลความ ประสบการณ์ที่ได้รับหรือกระบวนการที่ บุคคล รับประสบการณ์ที่ได้รับให้เข้ากับความเป็นจริง
พัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น 4 ขั้นตอน
ระยะที่ 1 ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว
ระยะที่ 2 ขั้นความคิดก่อนเกิดปฏิบัติการ
ระยะที่ 3 ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม
ระยะที่ 4 ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม
ทฤษฏีของบรูเนอร์
ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์
เขาเชื่อว่าการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการทำงานภายในอินทรีย์ซึ่งมีผลต่อการทำงานทางสติปัญญาของเด็ก
บรูเนอร์ กล่าวว่า การเรียนรู้ของคนจะมีประสิทธิภาพเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับกิจกรรมทางสมอง
บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาและการคิดออกเป็น 3 ขั้น
1.ขั้นการเรียนรู้ด้วยการกระทำ
2.ขั้นการเรียนรู้ด้วยภาพและจินตนาการ
3.ขั้นการเรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์


จิตวิทยาการเรียนรู้
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
๑. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และประเมินผล
๒. ด้านเจตพิสัย (Affective Domain ) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
๓. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว การกระทำ การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
๑. แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
๒. สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู กิจกรรมการสอน และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ที่ครูนำมาใช้
๓. การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง คำพูด การคิด การรับรู้ ความสนใจ และความรู้สึก เป็นต้น
๔. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก
ธรรมชาติของการเรียนรู้
๑. การเรียนรู้เป็นกระบวนการ
๒. การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้อาศัยวุฒิภาวะ
๓. การเรียนรู้เกิดได้ง่าย ถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
๔. การเรียนรู้แตกต่างกันตามตัวบุคคลและวิธีการในการเรียน



การสอนภาษาแบบองค์รวม
การสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language Approach) หมายถึง การสอนภาษาที่เป็นไปตามธรรมชาติ เน้นสื่อที่มีความหมาย ผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมช่วยทำให้เข้าใจสื่อที่อ่านได้รวดเร็วขึ้น
หลักการสอนภาษาแบบองค์รวม
1. หลักการจัดการเรียนการสอนภาษาแบบองค์รวม
1.1 ส่งเสริมการอ่านภายในโรงเรียน
1.2 ส่งเสริมให้รักการอ่าน โดยจัดเตรียมหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ให้ตอบสนอง
1.3 ในการเรียนการสอนทั้งผู้สอนและผู้เรียนจะต้องมีจุดประสงค์ย่อยในส่วนของตนเองที่ต่างกัน
1.4 ผู้สอนต้องเน้นให้ผู้เรียนรู้จักใช้กระบวนการอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความชำนาย ประกอบกับความรู้เดิมพื้นฐาน จะทำให้สามารถพัฒนาการอ่านได้อย่างรวดเร็ว
การจัดหรือออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาแบบองค์รวม
1. ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนการจัดพื้นความรู้ของผู้เรียน
2. ผู้สอนควรจัดกิจกรรมการอ่านหนังสือเล่าเรื่องที่น่าสนใจให้ผู้เรียนฟังเสมอ
3. ผู้เรียนควรมีโอกาสอ่านหนังสือทุกวัน โดยเฉพาะวรรณกรรมที่ดีมีคุณค่า
4. ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเขียนมากที่สุด โดยอาจเริ่มจากการเขียนเกี่ยวกับตนเอง
5. การเฝ้าดูพฤติกรรมของเด็กเป็น
6. การสอนภาษาแบบองค์รวม มุ่งเน้นให้ผู้เรียนร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
7. การจัดหลักสูตรการสอนภาแบบองค์รวมเป็นแนวทางการสอนที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้หนังสือ

วันศุกร์ ที่ 11 ธันวาคม 2552

การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก

ความหมายของภาษา มี 4 ด้าน

1.ความสามารถด้านการฟัง

2.ความสามารถด้านการพูด

3.ความสามารถด้านการอ่าน

4.ความสามารถด้านการเขียน

หลักการจัดการเรียนรู้ทางภาษา

1.ครูควรมีบทบาทในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการสอน

2.ภาษาประกอบด้วยทักษะ 4 ด้านคือ ฟัง พูด อ่าน เขียน

3.เด็กมีปฎิสัมพันธืกับบุคคลอื่นได้ดี

*เราสามารถวัดการเรียนรู้ของเด็กได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลของเด็ก

*เด็กจะเกิดการเรียนรู้ได้ต้องเริ่มจาก การทดลอง และการปฎิบัติโยอิสระ

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดี ที่ 3 ธันวาคม 2532

เทคนิคการสอนภาษา

การสอนภาษาสำหรับเด็กไม่ใช่เพียงการสอนทักษะการอ่านและเขียน ครูสามารถประเมินผลการสอนของตนเองจากเด็กง่ายๆ โดยให้สังเกตว่าเราสอนเด็กรู้สึกอย่างไร ถ้าเด็กรู้สึกเครียด เบื่อ และครูรู้สึกไม่สนุกด้วยแสดงว่าการสอนของเราไม่ถูกต้องเสียแล้ว

แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
1. ครูจะต้องรู้ว่าเด็กเรียนรู้อย่างไรเด็กเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติอย่าง
2. ประสบการณ์ทางภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
3. เชื่อว่าเด็กทุกคนสามรถเรียนรู้ได้
4. เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ถ้าเราสอนแบบ สอนอย่างธรรมชาติ สอนอย่างสามารถนำคำสอนไปใช้ได้ด้วย เพราะถ้าเด็กไม่ได้นำไปใช้ เด็กจะเรียนรู้ได้ไม่ดีเนื้อหาที่สอนต้องอยู่ในชีวิตประวันที่เด็กใช้
5. เด็กจะเรียนรู้ได้ที่สุดถ้ามาจากการตัดสินใจของเด็กเอง
6. ให้เด็กรูสึกว่าตัวเขาเป็นส่วนหนึ่งของในสังคมในห้องเรียนนั้นๆ
7. ไม่ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกแข่งขัน
8. ครูต้องสอนทุกไปพร้อมๆกันและเกี่ยวข้องกัน
9. ทำให้การเรียนของเด็กเป็นสิ่งที่น่าใจและสนุกสนาน

ควรสอนภาษาเด็กอย่างไร
1. เริ่มจากสิ่งที่เด็กรู้แล้วและอยู่ในความสนใจของเด็ก
2. ให้ความเคารพและยอมรับภาษาที่เด็กใช้
3. การประเมินโดยการสังเกต
4. ใช้วิธีการการประเมินที่เหมาะ เสนอความคิดต่อผู้ปกครอง
5. ส่งเสริมให้เด็กเรียนอย่างกระตือรือร้น
6. สร้างความรู้สึกประสบความสำเร็จให้เด็กอ่านสิ่งที่เด็กคุ้นเคย อ่านให้เด็กฟังจากแหล่งต่างๆ

ข้อปฎิบัติในการสอนภาษา
1. ควรสอยนในสภาพที่เป็นธรรมชาติที่สุด ไม่ใช่จับเด็กมานั่งเรียนอย่างเดียว
2. ควรสอนโดยไม่มีการแบ่งแยกกลุ่มเด็กเก่งเด็กอ่อน
3. การที่เด็กเกิดมาพร้อมกับความอยากรู้อยู่แล้ว จะเป็นแรงกระตุ้นให้เขาสามารถจำคำต่างๆได้

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ ที่ 13 พฤศจิกายน 2552

ทฤษฎีการพัฒนาสติปัญญาของเพียเจท์ (Piaget’s Cognitive Development Theory)



เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม

เพียเจท์ได้เน้นว่าพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์จะเป็นไปตามขั้นตอน มีทั้งหมด 4 ขั้นตอนตามลำดับ คือ

1. ขั้นตอนการใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimoter Stage)เป็นพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นตอนที่ทารกแรกเกิด - 2 ขวบ จะใช้ ประสาทรับสัมผัส และตอบสนองต่อสิ่งเร้าและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม เช่น ทารกจะลืมตาเมื่อมีแสงสว่างมากระทบ เป็นต้น

2. ขั้นเตรียมการ (Preoperational Stage) เป็นพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นที่สองของเด็กวัย 3 - 7 ขวบ ซึ่งถือว่าตนเองเป็นผู้ใหญ่ หรือเป็นศูนย์กลางของสังคม (Ego Centric) จึงเอาแต่ใจตนเอง ขาดความมีเหตุมีผล ขาดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี กฎหมายบ้านเมืองจึงไม่เอาผิด แก่เด็กอายุไม่เกิน 7 ขวบ ที่กระทำ ความผิดทางกฎหมาย ขั้นนี้เป็นขั้นเตรียมการทางสมองที่จะเริ่มมีเหตุมีผลต่อไป

3. ขั้นเรียนรู้รูปธรรม (The Concrete Operation Stage) เป็นพัฒนาการของเด็กวัย 8 - 12 ปี สติปัญญาพัฒนาดีขึ้น สามารถใช้ความคิด ในการเกิดความคิดรวบยอดของวัตถุสิ่งของมิติต่างๆ ได้

4. ขั้นเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรม (Formal Operation Stage) เป็นพัฒนาการของเด็กวันรุ่น (13 - 16 ปี) สติปัญญาของเด็กวัยรุ่นจะพัฒนาได้ดีประมาณ 90% จึงสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมนามธรรม ตลอดจนหลักตรรกศาสตร์ได้นอก จากนี้ยังเข้าใจ กฎเกณฑ์ของสังคม สามารถตัดสินใจแก้ปัญหา และทดสอบข้อสมมติฐานและข้อพิสูจน์ต่างๆ ได้





ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์

บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของบรุนเนอร์ มีดังนี้

1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก

2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ

3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้

4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้

5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ


1) ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ

2) ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้

3) ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

www.edu.cru.in.th/webedu/Psycho/linktdev.htm

images.oiland.multiply.multiplycontent.com


วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ ที่ 6 พฤศจิกายน 2552

นางสาวปวีณา เกลี้ยงกลม รหัสนักศึกษา 5111209861
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2552
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์ทางภาษสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นครูจะต้องมีความเชื่อก่อนว่า เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ และเด็กมีความสามารถที่ดีที่สุด เพฉาะนั้นการจัดประสบการณ์ทางภาษสำหรับเด็กปฐมวัยต้องจัดการเรียนการสอนให้สนุกสนานเพลิดเพลิน และสอดคล้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนเพื่องให้เด็กมีทักษะในทุกๆด้าน
บรรยาการภายในห้องเรียน
1. บรรยากาศเย็นสบายนั้งเรียนแล้วสบาย
2. มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ครบเพียบพร้อมสำหรับนักศึกษาทุกคน
3. เรียนห้องนี้แล้วช่วยเพิ่มทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ได้
4. อาจารย์สอนได้เสียงดังฟังชัด
สรุป
การจัดประสบการณ์ทางด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย คือการวางแผนจัดเตรียมสือและอุปกรณ์ทางด้านภาษามาใช้ในการทำกิจกรรมโดยผ่านปรสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อให้เด็กเกิดทักษะและประสบการณ์

เปรียบเทียบ
จากกการเขียนการจัดประสบการทางด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยในหัวข้อแรกทำให้รู้ว่าความคิดของตัวเราเองนั้นน้อยเกินไปที่จะบรรยายคำนิยามให้ออกมาดีได้แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่ดีเพียงแค่ไม่ครอบคลุมคำนิยามเท่านั้นเอง
สำหรับบทความที่สองที่ฟังอาจารย์ยืบรรยายแล้วจึงทำไห้มีความคิดเพิ่มมากขึ้นและหลากหลาย เป็นไปตามแนวทางในการเรียนการสอนที่ถูกต้องและเหมาะสม