วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ ที่ 13 พฤศจิกายน 2552

ทฤษฎีการพัฒนาสติปัญญาของเพียเจท์ (Piaget’s Cognitive Development Theory)



เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม

เพียเจท์ได้เน้นว่าพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์จะเป็นไปตามขั้นตอน มีทั้งหมด 4 ขั้นตอนตามลำดับ คือ

1. ขั้นตอนการใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimoter Stage)เป็นพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นตอนที่ทารกแรกเกิด - 2 ขวบ จะใช้ ประสาทรับสัมผัส และตอบสนองต่อสิ่งเร้าและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม เช่น ทารกจะลืมตาเมื่อมีแสงสว่างมากระทบ เป็นต้น

2. ขั้นเตรียมการ (Preoperational Stage) เป็นพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นที่สองของเด็กวัย 3 - 7 ขวบ ซึ่งถือว่าตนเองเป็นผู้ใหญ่ หรือเป็นศูนย์กลางของสังคม (Ego Centric) จึงเอาแต่ใจตนเอง ขาดความมีเหตุมีผล ขาดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี กฎหมายบ้านเมืองจึงไม่เอาผิด แก่เด็กอายุไม่เกิน 7 ขวบ ที่กระทำ ความผิดทางกฎหมาย ขั้นนี้เป็นขั้นเตรียมการทางสมองที่จะเริ่มมีเหตุมีผลต่อไป

3. ขั้นเรียนรู้รูปธรรม (The Concrete Operation Stage) เป็นพัฒนาการของเด็กวัย 8 - 12 ปี สติปัญญาพัฒนาดีขึ้น สามารถใช้ความคิด ในการเกิดความคิดรวบยอดของวัตถุสิ่งของมิติต่างๆ ได้

4. ขั้นเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรม (Formal Operation Stage) เป็นพัฒนาการของเด็กวันรุ่น (13 - 16 ปี) สติปัญญาของเด็กวัยรุ่นจะพัฒนาได้ดีประมาณ 90% จึงสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมนามธรรม ตลอดจนหลักตรรกศาสตร์ได้นอก จากนี้ยังเข้าใจ กฎเกณฑ์ของสังคม สามารถตัดสินใจแก้ปัญหา และทดสอบข้อสมมติฐานและข้อพิสูจน์ต่างๆ ได้





ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์

บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของบรุนเนอร์ มีดังนี้

1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก

2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ

3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้

4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้

5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ


1) ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ

2) ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้

3) ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

www.edu.cru.in.th/webedu/Psycho/linktdev.htm

images.oiland.multiply.multiplycontent.com


วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ ที่ 6 พฤศจิกายน 2552

นางสาวปวีณา เกลี้ยงกลม รหัสนักศึกษา 5111209861
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2552
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์ทางภาษสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นครูจะต้องมีความเชื่อก่อนว่า เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ และเด็กมีความสามารถที่ดีที่สุด เพฉาะนั้นการจัดประสบการณ์ทางภาษสำหรับเด็กปฐมวัยต้องจัดการเรียนการสอนให้สนุกสนานเพลิดเพลิน และสอดคล้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนเพื่องให้เด็กมีทักษะในทุกๆด้าน
บรรยาการภายในห้องเรียน
1. บรรยากาศเย็นสบายนั้งเรียนแล้วสบาย
2. มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ครบเพียบพร้อมสำหรับนักศึกษาทุกคน
3. เรียนห้องนี้แล้วช่วยเพิ่มทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ได้
4. อาจารย์สอนได้เสียงดังฟังชัด
สรุป
การจัดประสบการณ์ทางด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย คือการวางแผนจัดเตรียมสือและอุปกรณ์ทางด้านภาษามาใช้ในการทำกิจกรรมโดยผ่านปรสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อให้เด็กเกิดทักษะและประสบการณ์

เปรียบเทียบ
จากกการเขียนการจัดประสบการทางด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยในหัวข้อแรกทำให้รู้ว่าความคิดของตัวเราเองนั้นน้อยเกินไปที่จะบรรยายคำนิยามให้ออกมาดีได้แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่ดีเพียงแค่ไม่ครอบคลุมคำนิยามเท่านั้นเอง
สำหรับบทความที่สองที่ฟังอาจารย์ยืบรรยายแล้วจึงทำไห้มีความคิดเพิ่มมากขึ้นและหลากหลาย เป็นไปตามแนวทางในการเรียนการสอนที่ถูกต้องและเหมาะสม